การเลือกพื้นที่ปลูกกาแฟในไร่



การเลือกพื้นที่
การเลือกพื้นที่ เพื่อปลูกกาแฟ ควรเป็นพื้นที่ด้านตะวันออก หรือตะวันออกเฉียงเหนือ หรือทิศเหนือ ด้านใดด้านหนึ่ง เพื่ออาศัยภูเขาช่วยบังร่มให้กาแฟได้รับแสงแดดเพียงครึ่งวันก็เพียงพอ เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นกาแฟใช้อาหารมากเกินไป ทำให้โทรมเร็ว บริเวณที่เป็นหุบ โอกาสที่จะถูกทำลายจากน้ำค้างแข็งก็มีมากกว่าบริเวณลาดเขา ส่วนดินภูเขานั้นมีความ เหมาะสมอยู่แล้ว แต่มักมีธาตุอาหารต่ำ
ส่วนสภาพความลาดชันของพื้นที่นั้น ควรมีมากน้อยเพียงใดนั้นเป็นเรื่องของการเลือกใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมมากกว่า กาแฟเป็นไม้พุ่มยืนต้น ที่สามารถปลูกได้จนถึงความลาดชัน ๘๕% ซึ่งกำหนดไว้ว่าควรปล่อยไว้เป็นป่าธรรมชาติ เพราะการปลูกกาแฟบนที่ลาดชันสูงไม่เป็นการรบกวนดินมากนัก ดังนั้น หากมีพื้นที่ให้เลือกได้ ควรปลูกกาแฟบนพื้นที่ลาดชันสูง ๓๐% ขึ้นไป เพื่อจะได้ใช้พื้นที่ลาดชันที่น้อยกว่านี้ในการปลูกพืชไร่อื่นๆ จะเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ดีกว่า เพราะหากใช้พื้นที่ลาดชันน้อยปลูกกาแฟเสียแล้ว จะทำให้ไม่สามารถใช้ที่ลาดชันสูงกว่านี้ปลูกพืชไร่เพราะก่อให้เกิดปัญหาการพังทะลายของดิน และการปลูกควรปลูกตามแนวเส้นระดับชั้นความสูง (Contour Planting) เพื่อสะดวกในการจัดการและถูกต้องตามวิธีการอนุรักษ์ดิน
วิธีการวางแนว เพื่อปลูกกาแฟบนที่ลาดชัน ตามแนวเส้นระดับชั้นความสูงนั้น มีวิธีการง่าย โดยอาศัยเครื่องมือง่ายๆ คือ ไม้สามเหลี่ยม หรือที่เรียกว่า A เฟรม
วิธีสร้างไม้สามเหลี่ยมสำหรับวางแนวปลูกกาแฟบนที่ลาดชัน ทำได้ดังนี้
๑. เตรียมไม้กว้างประมาณ ๑ นิ้ว ยาวเท่าระยะปลูกของกาแฟ คือ ๒.๕ เมตร จานวน ๒ อัน และยาวประมาณ ๑.๓๐ เมตร จำนวน ๑ อัน
๒. นำไม้อันยาว ๒.๕ เมตรนั้มาวางประกบกันให้เท่ากัน เจาะรูที่ตรงกลางปลายด้านหนึ่งให้ทะลุทั้ง ๒ อัน ใช้น๊อตจับยึดไว้หลวมๆ ทำ เครื่องหมายแบ่งครึ่งความยาวของขาทั้งสองไว้
๓. ถ่างปลายขาไม้อีกด้านหนึ่ง ให้กว้างออกไป เท่ากับระยะปลูก อาจ เป็น ๒.๕ หรือ ๓ เมตร
๔. นำไม้อันยาว ๑. ๓๐ เมตร ทาบเข้าไปให้สันเสมอแนวเส้นแบ่งครึ่งที่ทำเครื่องหมายไว้
๕. เจาะรูใช้น้อตยึดติดกันให้แน่นทั้งสามจุด จะได้ไม้มีลักษณะเป็นอักษร A
๖ . แบ่งครึ่งไม้ยึดอันกลางนี้ทำเครื่องหมายไว้
๗. ผูกลูกดิ่งทิ้งให้สายดิ่งทิ้งผ่านไม้ยึดอันกลางนี้ หรือใช้ระดับน้ำช่างไม้ประกอบ
หมายเหตุ
๑. ใช้น๊อตจับยึด เพื่อสะดวกในการถอดประกอบนำไปใช้ในไร่ ถ้าใช้ชั่วคราวจะใช้ไม้ไผ่มัด หรือตอกตะปูยึดก็ได้ ถ้าจะให้ดีควรใช้ไม้จริง
๒. แนะนำให้ใช้ระดับน้ำช่างไม้วางบนสันไม้ยึดอันกลาง ขณะทำการวางแนวจะสะดวกรวดเร็วในทางปฏิบัติมากกว่าการใช้ดิ่งมาก
หลังจากนั้น ทำการตัดไม้สำหรับปักหลัก แสดงหลุมปลูกกาแฟ อาจเป็นไม้ไผ่ขนาด ๑” ยาว ๑” เมตร เสี้ยมปลายด้านหนึ่งให้แหลมก็สะดวกดี
การเตรียมพื้นที่ก่อนเริ่มวางแนว หากพื้นที่เป็นป่าหญ้าคาหรือป่าละเมาะให้ทำการตัดแผ้วถาง หรือใช้วิธีเผา โดยการควบคุมอาณาเขตไม่ให้ลุกลามออกไป ถ้าพื้นที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่ห้ามทำการตัด ควรแผ้วถางเฉพาะไม้ขนาดเล็ก เว้นต้นไม้ใหญ่ไว้เป็นไม้บังร่มตามธรรมชาติ
วิธีวางแนวปักหลักหลุมปลูก
ใช้พิจารณาสภาพพื้นที่ มีความลาดชันไปทางใดสม่ำเสมอหรือไม่ ให้เริ่มวางแนวจากขอบด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งเสมอ ไม่ควรวางกลับไปกลับมา ยกเว้นที่มีความลาดชันสม่ำเสมอ และเริ่มวางแนวจากข้างบนลงช้างล่าง สำหรับพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ หรือความลาดชันเปลี่ยนทิศทาง ให้เริ่มจากด้านที่ชันมากกว่าเสมอ จะพบว่ามีปัญหาเกิดขึ้น คือ ปลายด้านหนึ่งของระยะปลูกระหว่างแถวของกาแฟจะถ่างออกห่างออกจากกันมากขึ้นเรื่อยๆ มีวิธีแก้ไขได้ดังนี้ ถ้าระยะห่างระหว่างแถวกาแฟห่างกันออกไปมากให้หาส่วนที่แคบที่สุด ที่จะแทรกต้นกาแฟแถวใหม่ลงไปได้ แล้วเริ่มวางแนวจากต้นนี้ออกไปอีกแถวหนึ่ง หากยังมีระยะระหว่างแถวเหลือห่างพอที่จะแทรกแถวใหม่เข้าไปได้อีกก็ทำโดยวิธีเดียวกัน วิธีนี้ดีกว่าเริ่มวางแนวจากด้านชันน้อยกว่า เพราะมักจะพบว่าต้นกาแฟเข้าไปชิดติดกันเกินไปในอีกด้านหนึ่ง ซึ่งชันกว่า วิธีวางหลุมปลูกให้สลับกัน เป็นแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า วิธีนี้ลดระยะระหว่างแถวลงได้ ขณะที่ระยะระหว่างต้นยังคงเท่ากัน ทำให้ปลูกได้จานวนต้นมากขึ้น
วิธีวางแนวปักหลัก
๑. เริ่มปักหลักแรกที่ขอบบนของด้านที่ชันกว่า
๒. นำไม้สามเหลี่ยมตั้งให้ขาด้านหนึ่งอยู่ที่หลักแรก ส่วนขาอีกด้านหนึ่งขวางความลาดชัน มุ่งไปทางขอบอีกด้านหนึ่ง ทำการเลื่อนขาไม้สามเหลี่ยมด้านนี้จนกระทั่ง สายดิ่งผ่านจุดกึ่งกลางไม้ยึดอันกลาง หรือระดับน้ำ เข้าที่ก็ทำการปักหลักที่สองที่ปลายขาด้านนี้
๓. เลื่อนไม้สามเหลี่ยมต่อไปให้ขาด้านที่อยู่ที่หลักแรกมาอยู่ที่หลักที่สอง แล้วทำวิธีเดียวกันปักหลักที่ปลายขาด้านที่หาระดับไม้ใหม่ เป็นหลักที่สาม
๔. ทำวิธีเดียวกันนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนหมดแนวแถวแรก
๕. เมื่อเริ่มวางแนวแถวที่สองใช้ไม้สามเหลี่ยมวัดลงไปให้อยู่กึ่งกลางของหลักที่ ๑ และ ๒ โดยมีระยะห่างเท่ากัน ทำการวางแนวปักหลักจากจุดนี้ต่อไป เป็นแถวปลูกที่สอง
๖. โดยวิธีเดียวกัน ทำเช่นนี้ไปจนหมดพื้นที่
การวางแนวหลุมปลูก สำหรับพื้นที่ที่มีความลาดชันสม่ำเสมอ หรือไม่ต้องการความละเอียดแต่ต้องการความเป็นระเบียบและทำได้ง่ายๆ โดยอาจใช้ไม้สามเหลี่ยมอันเดิมหรือใช้เชือกหรือโซ่เส้นเล็กๆ ยาว ๒.๕๐ เมตร จานวน ๓ เส้น มัดปลายให้ติดกันเป็นรูปสาม เหลี่ยมด้านเท่า แต่ในการวางแนวปักหลักต้องใช้คน ๓ คน หรือถ้าจะให้เร็วขึ้นก็ต้องใช้ ๔ คน มีวิธีการดังนี้
๑. แบ่งบริเวณพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนบนและส่วนล่าง
๒. วางแนวหลุมปลูกตามเส้นระดับชั้นความลูง จากกึ่งกลางพื้นที่ตามวิธีเดิม โดยใช้ไม้สามเหลี่ยมหรือใช้ประมาณด้วยสายตา วางแนวแล้วปักหลักแสดงหลุมปลูกระยะ ๒.๕ ม. ไปจนถึงอีกด้านหนึ่ง
๓. วางแนวจากกึ่งกลางขึ้นบนและจากกึ่งกลางลงล่างจนหมดพื้นที่
๔. ถ้าใช้ไม้สามเหลี่ยมให้เอาปลายขาทั้งสองวางที่หลักที่ ๑- ๒ แล้ววางนอนราบไปตามพื้นที่ปักหลักที่ยอดไม้สามเหลี่ยม แล้วเลื่อนขาไม้สามเหลี่ยมไปอยู่ที่หลักที่ ๒- ๓ วางไม้ราบลงไปตามพื้นที่ปักหลักที่ยอดไม้สามเหลี่ยม ทำเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ
๕. ถ้าใช้เชือกหรือโซ่เล็กๆ ที่ทำเป็นสามเหลี่ยมแล้วนั้น ให้ใช้คน ๓ คน อยู่แต่ละมุม ดึงให้ตึงเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าตลอดเวลา ทำเช่นเดียวกับข้อ ๔ จะทำได้รวดเร็ว และสะดวกกว่ามาก
๖. วางแนวแถวต่อไป โดยใช้แถวที่วางเสร็จแล้วเป็นฐาน



รูปแสดงผังการวางแนวหลุมปลูก ตามเส้นระดับชั้นความสูง ปัญหาอีกด้านหนึ่งกว้างออก แก้ไขโดยเสริมแถวใหม่เข้าไป




รูปแสดงการวางผังหลุมปลูก บริเวณพื้นที่ลาดชันสม่ำเสมอ โดยใช้ระบบสามเหลี่ยมอาศัยเส้นกลางของพื้นที่เป็นแนวทางวางแนวหลุมปลูก และการขุดขั้นบันไดขนาดแคบ ตัดแปลงเป็นถนนในไร่กาแฟบริเวณหลุมปลูกขุดเป็นขั้นบันไดเฉพาะต้น
เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนของไม้สามเหลี่ยม ที่ทำไม่ได้ระดับดีพอ ควรให้ปลายขาด้านที่เป็นหลักตั้งอยู่ที่หลักทุกครั้ง และปลายขาที่ใช้หาระดับควรใช้หาระดับตลอดไป วิธีนี้ หากไม้ที่ทำมีความคลาดเคลื่อนก็จะเป็นไปในทางเดียวกันตลอด
สำหรับพื้นที่ลาดชันมาก เพื่อให้ดียิ่งขึ้นในการป้องกันการพังทะลายของดินและสะดวกในการปฏิบัติงาน ควรขุดขั้นบันไดขนาดแคบกว้างประมาณ ๑.๕๐ เมตร ให้ด้านนอกสูงกว่า ด้านใน ๑๕ เซนติเมตร ทุกๆ แถวปลูกกาแฟจำนวน ๖ แถว โดยวัดจากแถวกาแฟที่ ๗ ขึ้นไป ๖๐ เซนติเมตร วางแนวด้วยไม้สามเหลี่ยมวิธีเดียวกัน เมื่อวางแนวเสร็จทำการดายหญ้าหรือวัชพืชลงมากองกันเป็นคัน ตามแนวที่วางไว้กะประมาณว่าต่ำกว่าแถวกาแฟ ที่ ๖ ลงมา ๖๐ เซนติเมตร ทำการขุดครึ่งบนมาถมครึ่งล่างให้ปลายขอบดินที่ถมอยู่แนวที่ถาก วัชพืชกองไว้ จนเป็นขั้นบันไดขนาดเล็กที่มีขอบด้านนอกสูงกว่าด้านใน เพื่อป้องกันน้ำไหลบ่าลงไป และใช้ประโยขน์สำหรับเป็นทางรถเข็น สำหรับขนส่งปุ๋ยและผลผลิตสะดวกในการเดินเข้าไปดูแลรักษา
วิธีเตรียมหลุมปลูก
หลังจากการวางแนวปักหลักเสร็จแล้ว ไม่จำเป็นต้องขุดเป็นขั้นบันไดให้ยาวตลอดทั้งหมด เพราะเป็นการเปลืองแรงงานและเป็นการรบกวนดินมาก ในที่ซึ่งมีความลาดชัน ให้ทำการขุดขั้นบันได เฉพาะต้นเท่านั้น บริเวณอื่นปล่อยเว้นไว้ให้หญ้าปกคลุมดินไว้ ตามธรรมชาติเช่นเดิม หลังจากนั้นประมาณ ๓- ๔ ปี ขั้นบันไดเฉพาะต้นเหล่านี้จะค่อยๆ ถูกขยายมาบรรจบกันด้วยการปฏิบัติรักษาต้นกาแฟ เหตุผลของการขุดขั้นบันไดเฉพาะต้นให้นี้ เพราะให้สะดวกในการดูแลบารุงรักษาและดังกล่าวแล้วว่า กาแฟมีรากหาอาหารอยู่บนผิวดินชั้นบน การทำบริเวณโคนต้นให้เป็นพื้นราบจะทำให้ได้ประโยชน์จากการใส่ปุ๋ยให้กาแฟได้ดีขึ้นด้วย
วิธีขุดขั้นบันได เฉพาะต้นมีดังนี้
๑. ประมานว่าทำวงกลมโดยรอบไม้หลักที่ปักไว้ รัศมีประมาณ ๕๐ เซนติเมตร
๒. ทำการถากหญ้าหรือวัชพืช ภายในบริเวณวงกลมไปกองไว้ที่ขอบแนวครึ่งวงกลมด้านล่างขวางความลาดชัน
๓. ถากหน้าดินชั้นบน ภายในวงกลมออกมากองไว้ข้างๆ โดยวิธีใช้บุ้งกี๋ขนออก
๔. ทำการขุดดินบริเวณครึ่งวงกลมด้านบนมาถมครึ่งวงกลมด้านล่าง จนได้ระดับเป็นพื้นราบ ควรให้ด้านนอกสูงกว่าเล็กน้อย เผื่อดินยุบตัวและช่วยเก็บความชื้นจากฝนตกได้ดีกว่า ถ้ามองจากด้านบนจะมีลักษณะเป็นที่ราบวงกลมหรือเป็นแอ่ง ถ้าชอบแบบสี่เหลี่ยม จะขุดเป็นรูปเหลี่ยมก็ใช้ได้เช่นกัน
๕. ทำการขุดบริเวณตรงกลางออกเป็นหลุมขนาด ๑x๑x๑ ฟุต เอาดินที่ขุดขึ้นมาเ กลี่ยให้ทั่วที่ราบขั้นบันไดที่ขุดไว้
๖. นำหน้าดินที่ถากออกกองไว้ข้างๆ นั้น ใส่คืนลงไปในหลุม
หลังจากนั้น ทำการผสมดินในหลุมปลูกด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักประมาณ ๑/๒ ปี๊ป แล้วใส่ปุ๋ยทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต ประมาณ ๑ กำมือ หรือหินฟอสเฟตประมาณ ๒๐๐ กรัม หรือถ้าหาไม่ได้ใช้กระดูกป่นก็ได้ ใส่คลุกเคล้ากันให้ดี
ปุ๋ยทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต มีธาตุอาหารฟอสฟอรัสล้วนๆ ประมาณ ๒๐% ราคาประมาณกิโลกรัมละ ๗.- บาท ให้ผลเร็วแต่อยู่ได้ไม่นาน
ปุ๋ยรอคฟอสเฟต มีฟอสฟอรัสประมาณ ๑๖% ราคาประมาณกิโลกรัมละ ๒.- บาท ปุ๋ยนี้เหมาะสำหรับดินกรด เป็นปุ๋ยให้ประโยชน์ช้าแต่ระยะยาว จึงต้องใส่มากกว่า แต่อาจหาซื้อจำนวนน้อยได้ยาก
กระดูกป่น ใช้เป็นปุ๋ยให้ธาตุฟอสฟอรัส สำหรับผลระยะยาวได้ดี เช่นกัน มีฟอสฟอรัส ประมาณ ๑๔% และมีแคลเซียมอีกประมาณ ๓๐ เปอร์เซนต์ ราคาประมาณกิโลกรัมละ ๔.๔๐ บาท
การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส รองพื้นนี้เพราะว่ารากต้องการธาตุฟอสฟอรัสในการเร่งการเจริญจะช่วยให้มีระบบรากที่ดี อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเจริญเติบโตของต้น
การเตรียมหลุมปลูกควรจะเตรียมให้เสร็จก่อนทำการปลูกระยะหนึ่ง เพื่อให้ดินอยู่ตัวก่อน เมื่อถึงเวลาปลูกก็เพียงแต่ขุดดินที่เตรียมไว้นี้ให้มีขนาดเท่ากับต้นกล้าที่จะปลูกเท่านั้น การเตรียมดินแล้วปลูกทันที หลังจากนั้นระยะหนึ่งดินจะยุบตัว ทำให้เกิดเป็นแอ่งน้ำขังได้
ปริมาณธาตุอาหารฟอสฟอรัสในที่นี้เป็นธาตุ P ล้วนๆ มิใช่ P2O5 ทฤษฎีเดินนั้นบอกเป็นจำนวน P2O5 ซึ่งอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ที่เป็นประโยชน์คือ P ล้วนๆ ดังนั้นทฤษฎีใหม่จึงนิยมบอกเป็นจำนวนของ P จะทราบได้โดยใช้ ๐.๔๔ คูณจำนวน P2O5 จะได้เป็น P แต่ถ้าจะเปลี่ยนจาก P เป็น P2O5 คูณด้วย ๒.๒๙
วิธีการปลูก
ควรปลูกให้เร็วที่สุดของช่วงฤดูฝน เพื่อให้ต้นกล้าตั้งตัวได้ก่อนถึงฤดูแล้ง ถ้าปลูกช้า หรือปลายฤดูฝนเกินไป เปอร์เซนต์ต้นตายจะมีมากขึ้น ควรศึกษาการกระจายของฝนว่ามีมากช่วงเดือนไหนแต่ต้องคำนึงถึงอายุของต้นกล้าด้วย ถ้าเป็นต้นกล้าอายุ ๑ ปี อาจปลูกได้ทันทีที่เริ่มฤดูฝน แต่สำหรับกล้าที่มีอายุน้อยประมาณ ๖- ๘ เดือน ควรปลูกในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ไม่ควรให้ช้ากว่านี้ ถ้าปลูกหลังจากนี้เปอร์เซนต์ต้นตายในไร่จะมีมากขึ้น หากสามารถให้น้ำได้ก็อาจปลูกช้ากว่านี้ โดยทำร้านบังร่มชั่วคราวง่ายๆ เฉพาะต้น ให้ในฤดูแล้งจะช่วยให้มีชีวิตรอดได้มากขึ้น การปลูกในวันที่มีฝนตกพรำ หรือวันที่มีอากาศฟ้าครึ้มเมฆ จะช่วยได้มากระยะปลูกควรจะเป็น ๒.๕ X ๒.๕ เมตร ยกเว้นวิธีปลูกเพื่อการตัดแต่งกิ่งระบบเบอร์มองท์- ฟูกูนากา ใช้ระยะปลูก ๒.๕ X ๑ เมตร สำหรับพันธุ์ Caturra และระยะ ๓.๐ X ๑.๒ เมตร สำหรับพันธุ์ Typica และ Bourbon
การปลูกด้วยต้นกล้าในระยะใบจริงแบบล้างราก ก็สามารถทำได้ในไร่โดยขุดหลุมให้ลึกกว่าต้องการเล็กน้อย วางต้นกล้าลงไปกลบดินเล็กน้อยพอให้ต้นตั้งอยู่ได้ แล้วดึงขึ้นเล็กน้อยป้องกันรากงอ แล้วจึงกลบดินจนเต็มเสมอโคนต้น แต่วิธีนี้จะต้องมีร่มเงาและความชื้นเพียงพอจึงจะได้ผล หากปลูกตากแดดทันทีมักจะตายเกือบหมด ต้นที่ไม่ตายอาจแตกยอด และใบใหม่ การเจริญเติบโตชะงัก แข็งแรงสู้ต้นกล้าอายุน้อยกว่าที่ชำในถุงพลาสติกไม่ได้ หากจำเป็นต้องปลูกด้วยกล้าชนิดนี้ ควรขนส่งขึ้นไปชำในถุงพลาสติกเพื่อให้ตั้งตัวได้ก่อนประ มาณ ๑ เดือน หรือนานกว่านี้จะดีกว่า
ต้นกาแฟที่ปลูกนี้ ถ้าต้องการให้มีลำต้นหรือกิ่งตั้งแบบหลายกิ่งให้เด็ดยอดทันที ก็จะมียอดใหม่แตกออกมา ๒ กิ่ง เมื่อสูงประมาถJ ๕๐ – ๖๐ เซนติเมตร ก็ทำการเด็ดยอดทั้งสองอีก ก็จะได้ลำต้นหรือกิ่งตั้ง ๔ กิ่ง หลังจากปลูกกาแฟเสร็จจำเป็นต้องปักหลักขนาดใหญ่ พอสมควร จำนวน ๒ อัน ปักลงไปในดินให้แน่น และค้ำต้นกาแฟในลักษณะคีมผูกต้นกล้ากับไม้นี้ ระวังอย่าให้รัดแน่นจนขยายไม่ได้ จะ เป็นอันตรายต่อต้น เพื่อป้องกันอันตรายจากลมโยกลำต้น จะกระทบกระเทือนรากทำให้การเจริญเติบโตช้าและถ้าพื้นที่ไร่กาแฟมีลมพัดแรงเสมอ การปลูกแนวไม้กันลมก็เป็นสิ่งจำเป็น อาจขอคำแนะนำและพันธุ์ไม้จากหน่วยงานของกรมป่าไม้ทั่วๆ ไป
ที่มา:อนันต์ อิสระเสนีย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น