โรคที่เกิดกับเมล็ดและพืชหลังการเก็บเกี่ยว
EED PATHOLOGY AND POST HARVEST DISEASES
โรคที่เกิดกับเมล็ด Seed Pathology
เมื่อปลูกพืชด้วยเมล็ดที่มีเชื้อโรคติดมาด้วย เชื้อโรคนั้นจะเป็นสาเหตุทำให้พืชที่งอกและเจริญเติบโตอยู่ได้รับความเสียหายจากโรคอย่างมาก เช่น โรคที่ติดมากับเมล็ดของข้าวฟ่าง ได้ทำความเสียหายในไร่ส่วนตัวถึง 5% และบางครั้งสูงขึ้นถึง 50% นอกจากต้นกล้าที่เป็นโรค เชื้อยังแพร่สปอร์ระบาดไปยังต้นปกติอื่นๆ ในไร่หรือไปสู่ท้องถิ่นที่ไม่มีโรคนี้มาก่อน เช่น โรคแอนแทรคโนสของพริก โรคเหี่ยวที่เกิดจาก Fusarium ของพืช โรครานํ้าค้างของข้าวโพด ข้าวฟ่าง เป็นต้น การระบาดของโรคโดยเชื้อติดไปกับเมล็ดที่ใช้ทำพันธุ์ โรคจะสามารถระบาดได้อย่างแน่นอนและสู่ท้องถิ่นอื่นๆ ได้ไกล
โรคแอนแทรคโนสของพริกที่เกิดจาก Collletotrichum capsici and C. piperatum จากผลพริกที่เป็นโรคเก็บจากตลาดในกรุงเทพมหานคร เมล็ดเป็นโรคและเคลื่อนย้ายไปต้นกล้ามีถึง 28.5% และเมล็ดไม่งอกตายไป 56.6% หากใช้เมล็ดที่ไม่เป็นโรคและเป็นโรครวมกันเพาะกล้า เมล็ดที่ไม่เป็นโรคมีโอกาสติดโรคและเป็นโรคในแปลงเพาะถึง 12%
เมล็ดที่เป็นโรคบางชนิด นอกจากเชื้อจะทำลายเมล็ดและพืชนั้นโดยตรงแล้ว ยังจะทำให้มนุษย์ หรือสัตว์บริโภคเข้าไปได้รับอันตรายจากโรคนั้นอีกด้วย เช่น โรค ergot ของข้าวไรน์ และในบางกรณีเมล็ดที่เป็นโรคจะมีราคาตํ่าเมื่อออกสู่ตลาดอีกด้วย
ความเสียหายของเมล็ดที่มีเชื้อราและของพืชที่ปลูกจากเมล็ดเป็นโรค (Type of damage caused by seed-borne fungi to seeds and to crops arising from diseased seeds)
1. ศูนย์เสียความงอก การศูนย์เสียความงอกของเมล็ดที่เป็นโรคมักพบบ่อยๆ เช่น การใช้เมล็ดข้าวที่เป็นโรคเกิดจากเชื้อรา Aspergillus flavus, Curvularia lunata, Fusarium moniliforme ฯลฯ ปลูกในไร่นา โดยเชื้อทำลายเมล็ดที่ผิวภายนอก (seed coat) เนื้อในเมล็ด และคัพภะของเมล็ด และบางเมล็ดถูกพบว่าเชื้อสร้างสารพิษที่มีคุณสมบัติไม่เฉพาะเจาะจง พืชฆ่าคัพภะทำให้เมล็ดไม่งอก
2. ต้นกล้าไหม้และเน่า ต้นกล้าที่เกิดจากเมล็ดที่เป็นโรค มักจะไหม้ เช่น เมล็ด เรดีช ที่เกิดจาก
ภาพโรคแอนแทรคโนสของพริก เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum capsici A) อาการที่ผล – ผลปกติ (ซ้าย) และผลเป็นโรค (ขวา) B) เมล็ดปกติ (ซ้าย) และเมล็ดเป็นโรค (ขวา) C) การเจริญของเชื้อราบริเวณปากเปิดของเมล็ด D) Acervulus บริเวณปากเปิด ขณะเมล็ดงอกเป็นต้นอ่อน (x200) และ E) กลุ่มเส้นใยที่เจริญบริเวณปากเปิดของเมล็ด (x400) ac = acervulus, my = กลุ่มเส้นใย และ ed = endosperm
เชื้อ Alternaria spp. ทำลาย
3. อาการโรคที่เกิดกับต้นโต เช่นโรคเขม่าดำของข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ฯลฯ
ธรรมชาติของเมล็ดที่เป็นโรคและชนิดของเชื้อ (Nature of seed infections and its causal agents)
โรคที่เกิดกับเมล็ดมีสาเหตุมาจากเชื้อรา เช่นโรคเขม่าดำ บักเตรี เช่น โรคเน่าดำของกระหล่ำปลี วิสา เช่นโรคใบด่างของถั่วและผักกาดหอม และไส้เดือนฝอยศัตรูพืช เช่น โรครวงหงิกของข้าวสาลี เป็นต้น
ราสาเหตุโรคจะอยู่ในเมล็ดโดยพักตัวอยู่ในรูปของเส้นใย และจะกลับเจริญทำลายพืชหลังจากหว่านเมล็ดปลูกแล้ว นอกจากเชื้อจะอยู่ในเมล็ดในรูปของเส้นใยแล้ว ยังอยู่ในรูปโครงสร้างที่กำเนิดสปอร์ สปอร์ต่างๆ เช่น sclerotium, acervulus, pycnidium หรือ perithecium เชื้อสาเหตุโรคบางชนิดที่อยู่ และทำลายเมล็ด ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปทำลายต้นกล้าที่งอกจากเมล็ดได้ทันที โรครานํ้าค้างของข้าวโพด เป็นโรคหนึ่งที่มีรายงานว่าโรคสามารถถ่ายทอดทางเมล็ดได้แต่การเป็นโรคก็เกิดน้อยมาก
การอยู่ร่วมของเชื้อกับเมล็ด
1.) เชื้ออาจอยู่เพียงบนผิวของเมล็ด (infestation) เช่นสปอร์โรคเขม่าดำของธัญญพืชต่างๆ และเส้นใยของเชื้อ ปกติเชื้อจะติดไปกับเมล็ดระหว่างการเก็บเกี่ยว
2) เชื้ออยู่ในเนื้อเยื่อของเมล็ด (infection) โดยเชื้ออาจเข้าสู่พืชขณะเป็นดอกหรือฝัก แล้วงอกเข้าสู่เมล็ดภายใน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด คุณสมบัติของเชื้อ การแก่ของเมล็ดและสภาพแวดล้อม หากเชื้อมาสัมผัสพืชขณะเมล็ดเริ่มเจริญ เชื้อก็จะเข้าสู่ภายในได้ลึกกว่า ถ้าเชื้อมาสัมผัสพืชหลังจากเมล็ดพืชแก่ หรือเกือบแก่แล้วเชื้อก็จะเข้าสู่พืชได้เฉพาะบริเวณผิว ทั้งนี้ก็ขึ้นกับสภาพที่เหมาะสมของอากาศด้วย และ
3) เมล็ดได้รับเชื้อจากการปะปนกับเนื้อเยื่อหรือส่วนของพืชที่เป็นโรคหรือปนกับส่วนของเชื้อที่มีขนาดใหญ่ เช่น sclerotium (comitant contamination)
การควบคุมโรคที่เกิดกับเมล็ด
การควบคุมโรคที่เกิดจากเมล็ด หลักใหญ่เป็นการทำลายเชื้อที่ติดมากับเมล็ดเพื่อให้เมล็ดปลอดเชื้อโรค ซึ่งปฏิบัติโดย
1. คลุกเมล็ดด้วยสารเคมีที่เหมาะสม
2. แช่นํ้าร้อนหรือผ่านไอร้อน
3. เก็บเมล็ดไว้ให้นานพอก่อนปลูก เพื่อให้เชื้อโรคที่มีอายุสั้นตายก่อน
โรคที่เกิดกับพืชหลังการเก็บเกี่ยว Post Harvest Diseases or Market Pathology
โรคที่เกิดกับพืชหลังการเก็บเกี่ยว เป็นโรคที่เกิดหลังจากผลิตผลพืชเก็บเกี่ยวแล้วอยู่ระหว่างการเก็บรักษา ขนส่งสู่ผู้บริโภคหรือโรงงานแปรรูป ผลิตผลพืชและสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่มีต่อพืชหลังการเก็บเกี่ยวจะแตกต่างไปจากพืชที่ปลูกอยู่ในไร่ เช่นลักษณะและสภาพทางสรีรวิทยาของผลิตผล ตลอดจนสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยที่การเก็บผลิตผลรวมกันแน่น อยู่ที่ร่ม หีบห่อ ไม่ถูกฝน แสงแดด ลม โดยทั่วไปการเก็บผักและผลไม้จะเก็บไว้ในสภาพที่มีอุณหภูมิความชื้นตํ่า สภาพทางสรีรวิทยาของผลิตผลที่เก็บเกี่ยวแล้วจะเปลี่ยนไปอยู่ในสภาพที่พักตัวหรือกึ่งพัก ไม่เจริญแต่ยังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว เช่น เมล็ดที่คัพภะมีชีวิตอยู่เป็นส่วนเจริญผลไม้และผักที่ยังมีชีวิตอยู่แต่ไม่เจริญ และใบยาสูบ ใบฝ้าย ซึ่งเป็นผลิตผลที่ตายแล้ว
ความเสียหายของโรคที่ได้รับจากพืชหลังการเก็บเกี่ยว จากการคำนวณมูลค่าที่เกิดในสหรัฐอเมริกา ในปีหนึ่งสูญเสียถึง 10,000 ล้านบาท โรคที่เกิดระหว่างการเก็บรักษานี้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือโรคหลังการเก็บเกี่ยวเกิดจากสภาพสรีระของผลิตผลเองเป็นสาเหตุ (post harvest diseases of physiological origin) และโรคหลังการเก็บเกี่ยวเกิดจากเชื้อเป็นสาเหตุ (post harvest diseases of infectious origin)
สาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยวเกิดจากสภาพสรีระของผลิตผล
1. อ๊อคซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้เนื้อเยื่อภายในหัวตาย มีสีน้ำตาล สีดำ เช่นมันฝรั่ง แอปเปิล กระหลํ่าดอก ผลส้ม ผักกาดหอม เป็นต้น เนื่องจากมีการหายใจน้อย
2. Ester ที่ได้จากการ metabolism ของผลิตผลตามปกติ เป็นพิษเพราะมีสะสมมากเกินไป เช่น แอปเปิล ทำให้ผิวของผลมีสีนํ้าตาล ผิวจะพอง และเนื้อเยื่อจะสลายตัวตามมาซึ่งจะทำให้ราทำลายซ้ำเติมได้อีก
3. การช้ำเพราะอากาศเย็นเกินไป อาจตํ่ากว่าหรือสูงกว่าจุดเยือกแข็ง ทำให้เนื้อเยื่อภายในสลายตัวไม่มีกลิ่น ต่อมาผิวพองและเนื้อเยื่อภายในเสื่อม อาการเกิดได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเปลี่ยนสภาพเมื่อ เอาออกจากกล่องและห้องเก็บ
4. อุณหภูมิเก็บสูงเกินไป ทำให้อัตราการหายใจของผลิตผลสูง อันจะเป็นเหตุให้มีสาร ester สะสมมากขึ้นและอ๊อคซิเยนไม่เพียงพอ
5. ความชื้นไม่เพียงพอ เนื่องจากการคายนํ้าเพราะอุณหภูมิสูง ทำให้เนื้อเยื่อหด ย่น และแตกลึก
6. เมล็ดที่เก็บในความชื้นและอุณหภูมิสูง จะทำให้ราดำ ราเขียวต่างๆ ทำลาย
7. ผักที่อวบน้ำ ถ้าเก็บไว้ในที่มีความชื้นตํ่าไป ผักก็จะสูญเสียความชื้น และหากความชื้นสูงไป ก็จะได้รับความเสียหายจากสาเหตุอื่นอีก
สาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยวเกิดจากเชื้อ
ผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวในระหว่างการเก็บรักษา ก่อนถึงผู้บริโภค นอกจากสาเหตุเพราะการเปลี่ยนแปลงทางสรีระของพืชเองแล้ว ผลิตผลดังกล่าวยังถูกทำลายโดยจุลินทรีย์ต่างๆ เช่น จุลินทรีย์ที่ติดมากับผิวพืชระหว่างการเก็บเกี่ยว ระหว่างการขนส่งบรรจุหีบห่อ ซึ่งส่วนมากจุลินทรีย์จะเข้าทำลายผลิตผลนั้นเมื่อมีแผล ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการเก็บเกี่ยวและกรรมวิธีทางการขนส่ง
ผลิตผลบางอย่างก็อาจมีเชื้อสาเหตุของโรค ซึ่งอยู่ภายในติดมาตั้งแต่ก่อนการเก็บเกี่ยวจากไร่ ถ้าผลิตผลนั้นไม่ถูกเก็บในห้องอุณหภูมิต่ำแล้ว เชื้อโรคนั้นก็จะเจริญทำความเสียหายได้
ก. การสูญเสียเกิดจากเชื้อบักเตรี มี 2 แบบ คือ
1) เน่าเละเกิดจาก Pseudomonas และ Erwinia และ
2) เนื้อเยื่อภายในเสื่อม ถูกทำลายเนื่องจากเชื้อ Corynebacterium, Erwinia, Pseudomonas และ Xanthomonas
บักเตรีที่ทำให้เกิดอาการเน่าเละนั้น ทำความเสียหายรุนแรงมากแก่ผักต่างๆ ได้ภายในเวลา 2-3 ชม.เท่านั้น ทำลายผลไม้ ผักเกือบทั้งหมดได้รับความเสียหายจากเชื้อนี้ การเกิดเน่าเละอาจเกิดจาก
บักเตรีหลายชนิดร่วมกัน การป้องกันควรเก็บผลิตผลไว้ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 5 °ซ. สำหรับมันฝรั่ง และใกล้ 0°ซ กับ กับส่วนที่เป็นรากและใบของผักต่างๆ
ข. การสูญเสียเกิดจากเชื้อรา มี 2 กลุ่ม คือ
1)ผลิตผลชนิดที่มีความชื้นต่ำ ได้แก่ เมล็ดธัญญพืชชนิดต่างๆ และ
2) ผลิตผลชนิดที่มีความชื้นสูง ได้แก่ ผลไม้ หัว ราก ฝัก ต่างๆ
เชื้อราที่ทำลายเมล็ดขณะที่เมล็ดกำลังเจริญและแก่ในไร่ การเข้าทำลายจะเกิดขึ้นได้ต้องมีความชื้นสูงไม่ต่ำกว่า 90% เมล็ดธัญญพืชจะมีความชื้นเพียง 30% แต่ภายหลังเก็บเกี่ยวซึ่งเมล็ดโตเต็มที่แล้ว ความ ชื้นจะเหลือตํ่ากว่า 15-16% ดังนั้นเชื้อราในไร่โดยทั่วไปจะเกิดสปอร์และตายอย่างช้าๆ ไม่สามารถเจริญต่อไปได้ เพราะเมล็ดมีความชื้นตํ่ามากไป อย่างไรก็ตามเชื้อราที่ทำลายในโรงเก็บ อาจเข้าทำลายเมล็ดขณะเก็บรักษาอยู่ได้ เช่น Aspergillus and Penicillium
เชื้อราที่ทำลายในโรงเก็บส่วนมากแต่ละชนิดต้องการความชื้นเพื่อการเจริญเติบโตด้วยช่วงสั้นๆ แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่ออัตราความชื้นเปลี่ยน ชนิดของเชื้อราที่ทำลายก็จะเปลี่ยนไปด้วย ความเสียหายที่เกิดจากเชื้ออาจจะเกิดข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อรวมกัน คือ
1. ลดความงอกของเมล็ด เพราะเชื้อเข้าทำลายคัพภะ และเกิดจากเมล็ดมีอัตราการหายใจเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งความชื้นและความร้อนจึงมีผลทำให้คัพภะเปลี่ยนไปด้วย
2. คัพภะมีสีเปลี่ยนไป เช่นดำเข้ม แสดงถึงการถูกทำลาย คัพภะตาย
3. มีความร้อนเกิดขึ้น เพราะเกิดจากเชื้อราในโรงเก็บ และ/หรือ แมลงกำลังกินเมล็ดอยู่ โดยความร้อนที่เกิดขึ้นเป็นกิจกรรมของเชื้อราและแมลงโดยตรง เมล็ดที่มีความชื้นสูงกว่าจะถูกทำลายโดยความร้อนมากกว่า
4. มีสารพิษเกิดขึ้น โดยเชื้อราในโรงเก็บบางชนิดสร้างสารพิษขึ้น เช่น Aspergillus flavus สร้างสาร aflatoxin เป็นต้น
พืชที่มีความชื้นสูงอาจถูกทำลายโดยเชื้อราในสกุล Alternaria, Helminthosporium, Septoria etc. ซึ่งทำให้ส่วนที่เป็นโรคเกิดอาการจุดและสีเปลี่ยนไม่สมํ่าเสมอ และราชนิดอื่นๆ ในสกุล Aspergillus, Penicillium, Botrytis and Rhizopus ก็เป็นสาเหตุทำลายในโรงเก็บได้โดยลำพังหรือทำลายร่วมกับเชื้อราอื่น และ/หรือบักเตรี
การติดเชื้อในไร่ที่เกิดจากเชื้อรา หลังจากเก็บเกี่ยวและรักษาผลิตผลในโรงเก็บแล้ว เชื้อรานั้นอาจเจริญต่อทำให้มีอาการโรคเกิดขึ้นในโรงเก็บได้ เช่น โรคเน่าสีน้ำตาลของผลไม้ที่เกิดจาก Monilinia fructicola โรค scab ของแอปเปิลที่เกิดจาก Venturia inaequalis โรคใบไหม้ของมันฝรั่งและมะเขือเทศที่เกิดจากเชื้อ Phytophthora infestans การเจริญของเชื้อจะรวดเร็วมากหากในโรงเก็บมีอุณหภูมิสูง
ค. การสูญเสียเกิดจากเชื้อวิสา โรคที่เกิดจากวิสาส่วนมากเป็นอาการโรคใบด่าง เกิดกับผักที่เก็บรักษาไว้ อาการของโรคอาจเพิ่งแสดงอาการในโรงเก็บโดยยังไม่มีอาการในไร่ ทำให้ผลิตผลมีราคาต่ำ การแก้ไขต้องทำในไร่โดยการใช้พันธุ์ต้านทานปลูกและกำจัดพาหะ
การควบคุมโรคพืชหลังการเก็บเกี่ยว
1. ป้องกันการเกิดโรคจากเชื้อในไร่
2. เก็บเกี่ยวพืชในระยะที่แก่พอเหมาะ
3. เก็บเกี่ยวพืชด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้ช้ำ หรือเกิดแผลเกินจำเป็น
4. ทำความสะอาดโรงเก็บ และมีวิธีการเก็บผลิตผลที่สะอาด
5. ห้องเก็บมีการถ่ายเทอากาศดีและควบคุมความชื้น อุณหภูมิได้
6. ใช้สารเคมีฆ่าเชื้อให้เหมาะสมต่อผลิตผลที่เก็บ
ที่มา:ไพโรจน์ จ๋วงพานิช
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น