ปัญหาเกี่ยวกับน้ำนมดิบที่ผลิตในประเทศ
1. ปริมาณน้ำนมดิบไม่เพียงพอกับความต้องการ
จากการสำรวจปริมาณน้ำนมดิบที่ผลิตได้เทียบกับความต้องการน้ำนมดิบ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์นมต่างๆ ปรากฏว่า การขยายตัวของการผลิตน้ำนมดิบไม่ทันกับความต้องการใช้ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลังจากปี 2529 ซึ่งตลาดนมพร้อมดื่มขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูงจากการประสบความสำเร็จของโครงการรณรงค์เพื่อการบริโภคนม กล่าวคือ ในปี 2529-2532 อัตราการขยายตัวเฉลี่ยของความต้องการนํ้านมดิบเพื่อผลิตนมพร้อมดื่มสูงถึงร้อยละ 24.7 เทียบกับช่วงก่อนปี 529 ซึ่งอัตราการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยเพียงร้อยละ 5-7 เท่านั้น นอกจากนี้ ยังคาดว่าตลาดนมพร้อมดื่มในช่วงปี 2533-2534 จะขยายตัวในอัตราร้อยละ 8-9 เนื่องจากฐานการบริโภคยังคงขยายตัวต่อไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งถ้าไม่มีข้อจำกัดในเรื่องปริมาณนํ้านมดิบแล้วอัตราการขยายตัวจะอยู่ในเกณฑ์สูงกว่านี้
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าวิตก คือ ในสภาพปัจจุบัน ปริมาณน้ำนมดิบที่ผลิตได้ร้อยละ 90 จะถูกส่งไปแปรรูปเป็นนมพร้อมดื่ม ซึ่งโรงงานแปรรูปนมพร้อมดื่มทั้งของราชการ รัฐวิสาหกิจ สหกรณ์โคนมและเอกชน มีรวมกันประมาณ 40 แห่ง กำลังการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ประมาณวันละ 140 ตัน นมสเตอริไลส์และยูเอชทีประมาณวันละ 44 ตัน เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำนมดิบที่นำมาป้อนโรงงานแล้วไม่เพียงพอ ตลาดนม
ตารางความต้องการน้ำนมดิบและปริมาณน้ำนมดิบที่ผลิตได้ในประเทศ
ที่มา:สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
หมายเหตุ:e=ประมาณการ
พร้อมดื่มจึงต้องเสริมการผลิตด้วยการผลิตนมคืนรูปซึ่งต้องพึ่งการนำเข้าวัตถุดิบที่สำคัญคือหางนมผงจากต่างประเทศ
นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ เช่น นมผงธรรมดาและนมผงเลี้ยงทารก นมข้นหวาน โยเกิร์ต ไอศกรีม ตลอดจนเนยแข็ง ซึ่งเคยขยายตัวในอัตราที่ตํ่ามากก็มีแนวโน้มว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก ดังจะเห็นได้จากพฤติกรรมของผู้ผลิตนมพร้อมดื่ม รายใหญ่ในประเทศเริ่มหันมาให้ความสนใจในการพัฒนาตลาดผลิตภัณฑ์นมเหล่านี้อย่างมาก รวมทั้งมีการจัดตั้งโรงงานผลิตนมผงภายในประเทศซึ่งส่งผลให้ปริมาณนํ้านม ดิบภายในประเทศขาดแคลนมากยิ่งขึ้น เพราะตามเงื่อนไขของการตั้งโรงงานผลิตนมผง กำหนดไว้ว่า โรงงานนมผงภายในประเทศจะต้องรับซื้อนํ้านมดิบไม่ตํ่ากว่าวันละ 50 ตัน ในปีแรก และเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 ทุกปีจากปริมาณรับซื้อในปีที่ผ่านมา
อนึ่ง ภาวะการขาดแคลนนํ้านมดิบในช่วงก่อนปี 2529 ประมาณปีละ 4-5 แสนตัน และเมื่อมีโครงการรณรงค์ส่งเสริมการบริโภคนม ภาวะการขาดแคลนนํ้านมดิบรุนแรงยิ่งขึ้นในช่วงปี 2530-2531 อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2532-2533 สถานการณ์น่าจะดีขึ้น เพราะว่ามีการส่งเสริมเลี้ยงโคนมมากขึ้น แต่การผลิตนํ้านมดิบก็ยังได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ กล่าวคือ ปริมาณนํ้านมดิบยังขาดแคลนอยู่ถึงปีละเกือบ 5 แสนตัน
จากภาวะขาดแคลนนํ้านมดิบดังกล่าวข้างต้น ทำให้ต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศในแต่ละปีคิดเป็นมูลค่ากว่าสองพันล้านบาท กล่าวคือ ในปี 2531 มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นถึง 3,267 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 33.8 จากปี 2530 และคาดว่าในปี 2532 มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมจะเพิ่มขึ้นเป็น 4,000 ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์นมที่นำเข้าส่วนใหญ่ คือ นมผงเลี้ยงทารกและนมผงธรรมตา เพื่อนำมาบรรจุขายภายในประเทศ ส่วนหางนมผงนั้นนำเข้ามาเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์นมที่สำคัญคือนมข้นหวาน โดยผู้ผลิตนมข้นหวานในประเทศทุกรายจะผลิตในลักษณะใช้หางนมผงผสมกับไขมันเนยหรือนํ้ามันปาล์ม นอกจากนี้ หางนมผงยังเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตนมพร้อมดื่ม อย่างไรก็ตาม ทางการได้เข้ามาควบคุมการใช้หางนมผงเพื่อการผลิตนมพร้อมดื่ม โดยกำหนดว่าผู้นำเข้าหางนมผงเพื่อคืนรูปเป็นนมพร้อมดื่มต้องซื้อนํ้านมดิบในประเทศ 20 ส่วนต่อการนำเข้าหางนมผง 1 ส่วน และผู้นำเข้านมพร้อมดื่มสำเร็จรูปจะต้องรับซื้อนํ้านมดิบในประเทศในอัตรา 2 ต่อ 1 โดยนํ้าหนัก ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการรับซื้อนํ้านมดิบภายในประเทศมากขึ้น เนื่อง
จากการใช้หางนมผงมาผลิตเป็นนมพร้อมดื่มนั้น ต้นทุนการผลิตจะตํ่ากว่าการใช้น้ำนมดิบเป็นวัตถุดิบ กล่าวคือ ต้นทุนการผลิตนมพร้อมดื่มโดยใช้นํ้านมดิบสำหรับนมพาสเจอร์ไรซ์ (ขนาดบรรจุ 225 ซี.ซี.) เฉลี่ยถุงละ 2.18 บาท และนมยูเอชที (ขนาดบรรจุ 250 ซี.ซี.) กล่องละ 3.37 บาท ในขณะที่ถ้าผลิตด้วยหางนมผงต้นทุนการผลิตจะลดลงเหลือเพียงถุงละ 1.56 บาท และกล่องละ 2.67 บาท ตามลำดับ
แหล่งนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นมที่สำคัญของไทย ได้แก่ ประเทศทางแถบทวีปยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ กล่าวคือ ในปี 2531 ประเทศไทยนำเข้าจากเนเธอร์แลนด์มากที่สุด คิดเป็นมูลค่า 495.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.518 มูลค่านำเข้าทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย เยอรมัน อังกฤษ และเดนมาร์ก โดยมีสัดส่วนร้อยละ 17.4, 12.8, 9.6, 8.5 และ 8.3 ตามลำดับ
2. ราคาน้ำนมดิบที่ผลิตภายในประเทศอยู่ในเกณฑ์สูง
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรคำนวณราคาต้นทุนการผลิตนมโคภายในประเทศของเกษตรกรเฉลี่ยทุกขนาดฟาร์มกิโลกรัมละ 4.70 บาท ในปี 2532 ส่วนราคาขายนํ้านมดิบให้แก่ศูนย์รวมนมจะอยู่ประมาณกิโลกรัมละ 6.00-6.50 บาท และทางศูนย์รวมนมจะส่งขายแก่โรงงานในราคากิโลกรัมละ 7.50 บาท นับว่าต้นทุนวัตถุดิบนั้นอยู่ในเกณฑ์สูง เมื่อเทียบกับนมคืนรูปแปลงไขมันที่ต้องนำเข้านมผงจากต่างประเทศ
เข้ามาผสมโดยใช้นํ้ามันพืชแทนราคาเพียงกิโลกรัมละ 2.50 บาทเท่านั้น ทั้งนี้แม้ว่าเกษตรกรของสหรัฐอเมริกาจะขายนํ้านมดิบราคาเดียวกับเกษตรกรไทย แต่เมื่อโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์นมรับซื้อมาผลิตเป็นนมผงส่งออกราคากลับถูกลง โดยอ้างว่านมผงเพื่อส่งออกนี้เป็นนมส่วนเกิน ทางโรงงานจะรับซื้อนมประเภทนี้เพียงครึ่งราคา อีกส่วนหนึ่งรัฐบาลจะจ่ายเงินชดเชยให้เกษตรกรเอง ทั้งนี้เพื่อผลักดันนมส่วนเกินนี้เป็นสินค้าออก
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมของไทยอยู่ในเกณฑ์สูงมาก จากการที่ปริมาณนํ้านมดิบที่ผลิตได้ในประเทศยังขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่ทันกับความต้องการบริโภค ดังนั้นเมื่อราคาผลิตภัณฑ์นมในต่างประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นจึงมีผลกระทบอย่างต่อเนื่องถึงตลาดผลิตภัณฑ์นมในประเทศจนคาดว่าจะเกิดวิกฤตการณ์ด้านราคาขึ้นในไม่ช้านี้ กล่าวคือ ในปี 2531 ราคานมและผลิตภัณฑ์นมในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนมผงแปลงไขมัน เนย เนยแข็ง และไขมันเนย มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมากถึงร้อยละ 35, 17, 15 และ 8 ตามลำดับ และในปี 2532 ราคาผลิตภัณฑ์นมเหล่านี้ก็ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง
ปัจจัยที่น่าวิตกอีกประการหนึ่ง คือ ประเทศกลุ่มประชาคมยุโรปมีนโยบายที่จะยกเลิกการให้เงินอุดหนุนการผลิตและการส่งออกผลิตภัณฑ์นม เมื่อเป็นเช่นนี้ราคาผลิตภัณฑ์นมจากประเทศในกลุ่มนี้ซึ่งเป็นแหล่งนำเข้าที่สำคัญของไทยมีแนวโน้มจะสูงขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการซํ้าเติมภาวะปัญหาที่เผชิญอยู่ในปัจจุบันมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ผลกระทบจากการที่ผลิตภัณฑ์นมในต่างประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น จะส่งผลด้านลบต่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมของไทยดังต่อไปนี้
1. ผลิตภัณฑ์นมในประเทศไม่ว่าจะเป็นนมพร้อมดื่ม นมผงเลี้ยงทารก นมข้นหวาน ตลอดจนอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้นมเป็นวัตถุดิบ จะต้องปรับราคาขึ้นตามไปด้วย และผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือผู้บริโภคผลิตภัณฑ์นมเหล่านี้ ดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากกรณีการปรับราคาผลิตภัณฑ์นมตรามะลิให้สูงขึ้นจากเดิมร้อยละ 10 ในช่วง ปลายปีที่ผ่านมา โดยขนาด 400 กรัม 900 กรัม และ 2,500 กรัม ปรับราคาขึ้นจากเดิมกระป๋องละ 40 บาท 88 บาท และ 235 บาท เป็นกระป๋องละ 45 บาท 99 บาท และ 240 บาท สามลำดับ และมีแนวโน้มว่านมผงยี่ห้ออื่นๆ จะปรับราคาขึ้นตามไปด้วย
และในกรณีของบริษัทไอเอ็มอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายนมพร้อมดื่มยี่ห้อไทย-เดนมาร์ก ตกลงจะปรับราคารับซื้อนมพร้อมดื่มขนาดบรรจุ 250 ซี.ซี. จากองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อสค.) เพิ่มขึ้นอีกโหลละ 3 บาท หรือจากราคาขายส่งโหลละ 49.25 บาท เป็นโหลละ 52.25 บาท โดยจะทยอยขึ้นราคาครั้งละ 1 บาทต่อโหลในวันที่ 1 มกราคม 1 พฤษภาคม และ 1 กันยายน ศกนี้ นอกจากนี้ ทาง อสค. กำลังเจรจากับบริษัทไอเอ็มอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เพื่อขอขึ้นราคานมพร้อมดื่มขนาด 200 ซี.ซี. 1,000 ซี.ซี. นมพาสเจอร์ไรซ์ขนาด 225 ซี.ซี. นมผลไม้ทั้งชนิดบรรจุถุงและชนิดขวดด้วย แม้ว่าส่วนหนึ่งของการปรับราคาในครั้งนี้จะเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ อสค. ปรับราคารับซื้อนํ้านมดิบจากเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากลิตรละ 6.50 บาท เป็นลิตรละ 6.80 บาท ก็ตามแต่ ก็คงจะส่งผลต่อการปรับราคาผลิตภัณฑ์นมของบริษัทอื่นๆ ไม่มากนัก เนื่องจากภาวะการแข่งขันในตลาดนมพร้อมดื่มในปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์สูงเพียงแต่ว่าผู้ผลิตแต่ละรายกำลังรอดูท่าทีของ อสค. ซึ่งเป็นผู้ครองสัดส่วนการตลาดนม พร้อมดื่มอยู่ถึงร้อยละ 35
2. ต้นทุนการผลิตนมข้นหวานซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์นมที่มีการส่งออกมากจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทำให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาในตลาดต่างประเทศลดลง จึงคาดว่าปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์นมประเภทนี้จะลดลงในอนาคตข้างหน้า
3. แม้ว่าปัจจุบันจะมีการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาดื่มนมกันอย่างแพร่หลาย แต่ตลาดนมพร้อมดื่มยังค่อนข้างจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางขึ้นไป เนื่องจากราคาเฉลี่ยยังอยู่ในเกณฑ์สูง ดังนั้น การปรับราคาขายให้สูงขึ้นจะทำให้โอกาสการขยายฐานทางการตลาดกระทำได้ยากขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบถึงเป้าหมายที่เคยตั้งไว้ว่าจะเพิ่มอัตราการบริโภคนมเป็น 8 ลิตร/คน/ปี ในปี 2534
4. ตลาดผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ ที่กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งโยเกิร์ต (YOGURT) หรือนมเปรี้ยวจะชะลอตัวลง เนื่องจากในช่วงระยะกลางปีที่ผ่านมาราคานมผงที่นำเข้ามาเพื่อการผลิตนมเปรี้ยวได้เพิ่มขึ้นจากถังละ 600 บาท เป็น 1,400 บาท และในช่วงปลายปีเพิ่มขึ้นเป็นถังละ 1,600-1,700 บาท ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น จนต้องมีการปรับราคาจำหน่าย และส่งผลให้อุตสาหกรรมนี้ชะลอตัวลง
แนวทางที่จะหลีกเลี่ยงวิกฤตการณ์ด้านราคาผลิตภัณฑ์นมอย่างได้ผลนั้นคงจะต้องลดการพึ่งพิงจากต่างประเทศ พร้อมๆ กับการเร่งพัฒนากิจการโคนมและอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมในประเทศโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพเป็นสำคัญ ในการนี้ควรนำเอาวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ รวมทั้งหลักการผลิตที่มีการคำนวณต้นทุนและกำไรในการประกอบการมาใช้เพื่อให้การผลิตมีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศได้
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้รัฐบาลได้กำหนดแผนการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์นมของประเทศในระยะยาว ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 แนวทางดังนี้
1. การส่งเสริมการเลี้ยงโคนม โดยจะมีการกำหนดเขตที่มีสภาพเหมาะสมต่อการเลี้ยงโคนม สนับสนุนให้เกษตรกรเลี้ยงโคนมเพิ่มขึ้นโดยการสนับสนุนจัดหาพันธุ์โคนมให้แก่เกษตรกรรายย่อย และการนำเข้าโคนมจากต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อขยายฐานการผลิตน้ำนมดิบและเร่งรัดการผลิตเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำนมดิบขาดแคลน อย่างไรก็ตามการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมยังต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล กล่าวคือ กำหนดให้มีการจดทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และควบคุมการนำเข้าโคนมของเอกชน เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
2. สนับสนุนและเร่งรัดการวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์โคนม ตลอดจนวิจัยพืชอาหารสัตว์ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำผลพลอยได้ทางการเกษตรมาพัฒนาเป็นอาหารของโคนม นอกจากนี้ยังเน้นที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงโคนมที่ถูกต้องตามหลักวิชาการให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ทั้งนี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการให้นมของแม่โคสูงขึ้น (ขณะนี้การให้นมของแม่โคอยู่ในเกณฑ์ตํ่าเพียงวันละ 8-10 โลกรัมต่อวันเท่านั้น)
3. พัฒนาตลาดและการแปรรูปนํ้านมดิบโดยการสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์รับนํ้านมดิบเพื่อรวบรวมและขนส่งนํ้านมดิบไปยังโรงงานแปรรูป รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานทางด้านคุณภาพและราคาของนํ้านมดิบเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการรับซื้อนํ้านมดิบของศูนย์รับซื้อนํ้านมดิบและโรงงานแปรรูป นอกจากนี้ยังจะดำเนินการขยายตลาดผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ให้มีการบริโภคผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้น การดำเนินการลดหรือยกเว้นภาษีการนำเข้าสำหรับภาชนะบรรจุและวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตภาชนะบรรจุเพื่อลดต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์นม
4. สนับสนึนให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายโคนม หรือสภานมแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนเกษตร ผู้แทนโรงงานแปรรูป ผู้นำเข้าวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการผลิตนํ้านมดิบ นโยบายและมาตรฐานการต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาโคนมและอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมต่อไปในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบมากยิ่งขึ้นกว่าสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
3. เปอร์เซ็นต์ของมันเนยและจำนวนจุลินทรีย์ผันแปรไม่แน่นอน
ความผันแปรของเปอร์เซ็นต์มันเนยมีสาเหตุเนื่องจากธรรมชาติหลายประการ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่สาเหตุที่ไม่ใช่ธรรมชาติอย่างหนึ่งก็คือ เกษตกรบางรายรู้เท่าไม่ถึงการณ์มักจะเติมนํ้าลงไปในนํ้านมดิบเพื่อเพิ่มปริมาณนํ้านมดิบ ซึ่งนอกจากจะมีผลให้เปอร์เซ็นต์มันเนยลดลงแล้ว ยังเป็นสาเหตุทำให้นํ้านมดิบนั้นถูกตัดราคารับซื้อลง และเป็นการเติมเชื้อจุลินทรีย์ลงไปในนํ้านมด้วย นอกจากนี้ เกษตรกรที่สังกัดเป็นกลุ่มหรือเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมส่วนมากจะผลิตนํ้านมดิบที่มีคุณภาพค่อนข้างดี ทั้งนี้เพราะศูนย์รับซื้อนํ้านมดิบจะมีระเบียบและมาตรการรับซื้อนํ้านมดิบที่เข้มงวด เป็นการบังคับให้เกษตรกรผลิตนํ้านมดิบที่สะอาดเพื่อที่จะขายได้ราคาดี
นอกจากปัญหาในด้านการผลิตแล้ว ปัญหาประการสำคัญที่มีผลอย่างมากต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมนมพร้อมดื่มก็คือ อัตราการบริโภคนํ้านมของคนไทยอยู่ในเกณฑ์ตํ่ามาก เมื่อเทียบกับชนชาติอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือแม้แต่เอเชียด้วยกันกล่าวคือโดยเฉลี่ยแล้วคนไทยดื่มนมประมาณ 3 ลิตร/คน/ปี เมื่อเทียบกับคนยุโรปดื่มเฉลี่ยคนละ 200 ลิตร/คน/ปี ญี่ปุ่น 40 ลิตร/คน/ปี มาเลเซีย 8 ลิตร/คน/ปี และฮ่องกง 6 ลิตร/คน/ปี ทั้งนี้เท่าที่เคยมีการศึกษาวิจัยทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการบริโภคนมพบว่า
1. หลังจากเด็กหย่านมแล้ว พ่อแม่ไม่ได้สนใจปลูกฝังให้ลูกดื่มนมต่อไป ทั้งที่นมเป็นอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 5 ปีแรก ซึ่งเด็กจะต้องได้รับอาหารบำรุงอย่างเหมาะสม เนื่องจากการพัฒนาของระบบประสาทและสมองร้อยละ 80 จะอยู่ในช่วงนี้ นักโภชนาการแนะนำว่า ปริมาณนํ้านมที่ควรจะดื่มในแต่ละวันสำหรับในช่วงอายุต่างๆ กันดังนี้ 1-12 ปี ควรดื่มนมสดไม่น้อยกว่าวันละ 3 แก้ว (750 มิลลิลิตร) อายุ 13-25 ปี ควรดื่มไม่น้อยกว่าวันละ 4 แก้ว (1,000 มิลลิลิตร) อายุ 25 ปีขึ้นไป ควรดื่มไม่น้อยกว่าวันละ 2 แก้ว (500 มิลลิลิตร) และสำหรับหญิงมีครรภ์หรืออยู่ในระหว่างการให้นมบุตรควรดื่มไม่น้อยกว่าวันละ 3 แก้ว (750 มิลลิลิตร) นั่นหมายถึงว่า โดยเฉลี่ยแล้วทุกคนควรดื่มนมสดไม่น้อยกว่าวันละ 2 แก้ว (500 มิลลิลิตร)
2. สาเหตุที่คนไทยไม่นิยมดื่มนมกันเป็นประจำก็เพราะยึดติดอยู่กับทัศนคติที่ผิดๆ มาตั้งแต่ดั้งเดิม กล่าวคือ สำหรับครอบครัวผู้มีรายได้น้อยก็จะพบอุปสรรคด้านราคา จึงคิดกันแต่ว่านมแพง ทั้งที่จริงแล้วถ้าจะศึกษาเปรียบเทียบคุณค่าและราคากับคุณค่าทางโภชนาการแล้วนมไม่ได้แพงแต่อย่างใด เมื่อคิดถึงรสนิยมของคนไทยที่นิยมเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ เช่น นํ้าอัดลมยี่ห้อต่างๆ ซึ่งมีอัตราการบริโภคถึงปีละกว่า 6,000 ล้านบาท เครื่องดื่มชูกำลังปีละหลายพันล้านบาท การบริโภคชา กาแฟ หรือแม้แต่เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สถิติที่น่าตกใจก็คือ คนไทยดื่มสุราเฉลี่ย 15 ลิตร/คน/ปี นํ้าอัดลม 3 ลิตร/คน/ปี แต่ดื่มนมเพียง 3 ลิตร/คน/ปี เท่านั้น
3. ผลจากการที่ไม่ได้ดื่มนมเป็นประจำ เมื่อจะเริ่มหันมาดื่มนมโดยตระหนักถึงคุณค่าของนมก็ประสบปัญหาท้องเสียหรือบางครั้งก็ปวดแน่นท้อง เนื่องจากขาดสารสร้างนํ้าย่อยเพื่อย่อยนํ้าตาลแลคโตส ซึ่งมีวิธีแก้ไขได้คือ ควรดื่มนมหลังอาหารติดต่อกันทุกวันเป็นประจำ โดยเริ่มต้นครั้งละน้อยประมาณ 100 ซี.ซี. หรือครึ่งแก้วก่อน เมื่อเกิดอาการท้องเสียให้งดดื่มชั่วคราวแล้วค่อยเริ่มต้นใหม่ ภายใน 2 สัปดาห์อาการผิดปกติจะหายไป
ที่มา:ส่วนวิจัยเกษตรกรรม ฝ่ายวิชาการ ธนาคารกสิกรไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น