ปุ๋ยยูเรีย และ แอมโมเนียมซัลเฟต ต่างกันอย่างไร

ปุ๋ยยูเรีย(Urea) และแอมโมเนียมซัลเฟต(Ammonium Sulfate)ต่างเป็นปุ๋ยเคมีไนโตรเจนเหมือนกันแต่ต่างกันที่วิธีการผลิต และปริมาณธาตุไนโตรเจนปุ๋ย ปุ๋ยยูเรีย ปริมาณธาตุไนโตรเจน 46-48% เท่านั้น


ยูเรีย วิธีผลิตได้จากปฏิกิริยาระหว่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับก๊าซแอมโมเนียม

คุณสมบัติทางกายภาพ

1. เป็นผลึกสีขาว

2. ดูดความชื้นได้ดีมาก

3. ละลายน้ำได้ 50%

คุณสมบัติทางเคมี

1. ใช้ในนาข้าว หว่านบาง ๆ เป็นปุ๋ยหยอดหน้า มีไนโตรเจน 47-48%

2. ใช้เป็นอาหารสัตว์พวกวัวควาย

3. ใช้กับพืชผักสีเขียวช่วยเร่งความเจริญเติบโตใช้เพียงครึ่งเดียวของปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต เพราะมีธาตุไนโตรเจนสูงกว่าเท่าตัว ปุ๋ยยูเรียมีราคาแพงกว่าปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต


แอมโมเนียมซัลเฟต (Ammonium Sulfate)

วิธีผลิตมี 2 แบบ ใหญ่ ๆ คือ

1. ใช้แอมโมเนียทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟูริกเอซิด(กรดกำมะถันมีสูตรทางเคมี H2SO4)

2. ใช้แอมโมเนียทำปฏิกิริยากับยิบซั่มและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

คุณสมบัติทางกายภาพ

1. เป็นผลึกสีขาวหรือเทา

2. ดูดความชื้นในอากาศ

คุณสมบัติทางเคมี

สูตรเคมี

มีธาตุไนโตรเจน 20%

มีธาตุกำมะถัน 24 %

อยู่ในระดับปฏิกิริยาเป็นกรด

ประโยชน์ที่ใช้

ใช้กับดินเค็มหรือดินที่เป็นด่าง

ใช้เมื่อต้องการธาตุกำมะถัน

ใช้ในพืชบางชนิดที่ชอบดินเป็นกรด

ใช้กับพืชผักเพื่อเร่งความเจริญเติบโต

ในระหว่างปุ๋ยยูเรียกับปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตจะใช้ปุ๋ยยูเรียในปริมาณน้ำหนักและราคาต่ำกว่าปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต เพราะปุ๋ยยูเรียมีปริมาณธาตุไนโตรเจน 46-48% สูงกว่าปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตเท่าตัว

1 ความคิดเห็น: