โรคเขม่าดำของพืช



(Smut diseases)
โรคนี้ทำความเสียหายแก่ธัญญพืชต่างๆ มาก พบได้ทั่วไป เข้าทำลายเมล็ด มีผงสปอร์สีดำเต็ม ทำให้ผลผลิตและคุณภาพลดลง โรคนี้นับว่ามีควานสำคัญรองลงมาจากโรคราสนิมในการทำความเสียหายแก่พืช
เชื้อสาเหตุโรคที่พบทั่วไป ได้แก่ genera Ustilago, Tilletia, Sphacelotheca, Urocystis, Neovossia และ Entyloma เชื้อเข้าทำลายเมล็ดตั้งแต่ในช่วงรังไข่ แล้วเจริญพร้อมการเกิดเมล็ด ทำให้ทั้ง เมล็ดหรือผลเป็นโรค ราบางชนิดอาจทำลายใบ ลำต้น และช่อดอก บางชนิดเข้าทำลายเมล็ดตั้งแต่ยังไม่โผล่จากดิน หรือระยะต้นกล้า แล้วเมื่อเจริญตามจนถึงช่อดอก บางชนิดทำลายพืชเฉพาะแห่ง เช่น ที่ใบ ลำต้น ทำให้เซลที่มีเชื้ออยู่เต็มไปด้วยผงสปอร์ มีการบวมโตเนื่องจากเซลขยายใหญ่ขึ้นเพราะผงสปอร์ พืชอาจตายหรือแคระแกรน
เชื้อราสาเหตุโรคสามารถเจริญในอาหารเลี้ยงเชื้อ แต่ในธรรมชาติจะเป็นปรสิตของพืช เชื้อราส่วนมากมีสปอร์ 2 แบบคือ teliospores และ basidiospores (sporidia). Teliospores เกิดจากเซลของเส้นใย เมื่อ teliospores งอกเป็น basidium ที่ให้กำเนิด basidiospores ที่ด้านข้าง หรือเกิด basidiospores ที่ปลายของ basidium เป็นกลุ่ม ไม่มี sterigmata เมื่อ basidiospore งอกจะรวมกับ basidiospore อื่นขณะอยู่บน basidium แล้วเข้าทำลายพืช หรืองอกเข้าสู่พืชโดยการแทงผ่านโดยตรง dikaryotic mycelium เส้นใยที่เป็น haploid mycelium จะไม่สามารถเข้าทำลายพืช เชื้อเจริญในเนื้อเยื่อพืช เป็นแบบ inter- หรือ intracellular ซึ่งปกติไม่มี haustoria เชื้อมีหลาย races และเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเพราะมีการแบ่งแบบ meiosis อาการโรคเห็นชัดเจนด้วยผงเขม่าดำของ teliospores เช่น โรคเขม่าดำของข้าวโพด (Ustilago maydis) อ้อยก็เป็นตัวอย่างอีกพืชหนึ่งที่เป็นโรคเขม่าดำ และทำความเสียหายมากในแหล่งปลูกต่างๆ ของประเทศ แต่เกิดจากเชื้อ U. scitaminea


ภาพแสดงวงจรโรคเขม่าดำของข้าวโพด เกิดจากเชื้อ Ustilago maydis (ที่มา : Agrios, 1978)
อ้อยที่เป็นโรคมีอาการแคระแกรน ลำต้นผอม ข้อสั้น ใบแคบเล็ก แตกกอมากผิดปกติ ที่ยอดพบแส้ดำกลม ยาวเรียวยื่นออกมามีเยื่อบางสีขาวหุ้ม เมื่อเยื่อบางๆ ปริแตกจะเห็นผงสปอร์สีดำหรือนํ้าตาลเข้ม คลุมรอบแส้ดำมากมาย Teliospores มีลักษณะเกือบกลม ผิวเรียบหรือขรุขระเล็กน้อย สีน้ำตาลเข้ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.2-10.0ไมครอน เฉลี่ย 7.5 ไมครอน งอกได้ดีในที่มีความชื้นสูง และในสารละลายนํ้าตาล sucrose หรือ glucose 1.5% งอกให้ promycelium มีลักษณะเป็นแท่งปลายมนใส ขนาด
2.5-5.0 X 20.0-35.0 ไมครอน แบ่งตามขวาง 3-4 เซล แต่ละเซลงอกให้ basidiospores รูปไข่ ใส อาจเกิดติดต่อกันหลายเซล ขนาด 2.0-3.0 X 7.6-3.5 ไมครอน Basidiospores งอกให้เส้นใยสั้นๆ มีผนังกั้น 1-3 เซล ใส ขนาด 2.0-3.5X 7.6-36.0 ไมครอน
Teliospores สามารถงอกและเจริญได้ดีในอาหารเลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar, malt extract agar และ glucose peptone agar ในช่วงอุณหภูมิ 20-35°ซ. ดีที่สุดที่ 25°ซ. ให้โคโลนีสีขาวฟูแล้วเปลี่ยนเป็นสีครีม ตรงกลางโคโลนีมีลักษณะนูนสีเทา ผิวขรุขระ
การควบคุมโรค
1. ใช้พันธุ์ต้านทานโรค อ้อยที่พบต้านทานต่อโรคเป็นพันธุ์ F 134, F 155, NCo 376 และ Ragnar ส่วนข้าวโพดที่เป็นพันธุ์ลูกผสมยังไม่มีพันธุ์ใดที่ต้านทานโรคนี้ได้
2. กำจัดส่วนที่เป็นโรค
3. แช่ท่อนพันธุ์ด้วย methoxyethyl mercury chloride เข้มข้น 0.1% นาน 24 ชั่วโมง ก่อนปลูก
ที่มา:ไพโรจน์ จ๋วงพานิช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น